เมนู

เหมือนอะไร ? เหมือนสัตว์นรกกระหยิ่มยินดีต่อผู้ไปสวรรค์ ฉะนั้น
อธิบายว่า เปรียบเหมือน สัตว์นรก ต่อสัตว์ผู้เกิดแล้วในนรก ด้วยบาปกรรม
ของตน ย่อมยินดีต่อผู้ไปสวรรค์ คือผู้เข้าถึงสวรรค์ว่า โอหนอ แม้พวกเรา
ละทุกข์ในนรกแล้ว พึงเสวยความสุขในสวรรค์ ชื่อฉันใด ข้ออุปมานี้ก็ฉันนั้น
ก็ในคาถานี้ เพราะท่านมุ่งทำประโยคเป็นพหุพจน์ แสดงความหนัก
ในตนว่า เอกกา มยํ วิหราม จึงทำประโยคเป็นเอกพจน์อีกว่า ตสฺส เม
โดยที่ความของบทนั้น หมายความอย่างเดียวกัน พึงทราบการแสดงจตุตถีวิภัตติ
ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ โดยเพ่ง แม้บททั้งสองที่ว่า ตสฺส เม และสคฺคคามินํ
(และ) บทว่า ปิหยนฺติ. ก็บทว่า อภิปตฺเถนฺติ นั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้
โดยกระทำอธิบายว่า คนเป็นอันมาก ชื่อว่า ย่อมปรารถนา คุณมีการอยู่ป่า
เป็นต้น เช่นนั้น ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตสฺส เม มีอธิบายว่า ซึ่งคุณทั้งหลายใน
สำนักของเรานั้น
จบอรรถกถาวัชชีปุตตกเถรคาถา

3. ปักขเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปักขเถระ


[200] ได้ยินว่า พระปักขเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เหยี่ยวทั้งหลาย ย่อมโฉบลง ชิ้นเนื้อหลุดจาก
ปากของเหยี่ยวตัวหนึ่งตกลงพื้นดินและเหยี่ยวอีกพวก-
หนึ่ง มาคาบเอาไว้อีก ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้หมุนเวียน
ไปในสงสาร ก็ฉันนั้น เคลื่อนจากกุศลธรรมแล้ว ไปตก
ในนรกเป็นต้น ความสุขย่อมติดตามเราผู้สำเร็จกิจแล้ว
ผู้ยินดีต่อพระนิพพาน ด้วยความสุข.


อรรถกถาปักขเถรคาถา


คาถาของท่านพระปักขเถระ เริ่มต้นว่า จุตา ปตนฺติ. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้ท่านก็มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ กระทำ
บุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ 91 แต่ภัทรกัปนี้ (เกิด) เป็นยักษ์ผู้เสนาบดี
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี มีใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชา
ด้วยผ้าทิพย์. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เกิดในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ ในเทวทหนิคม ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนาม
ว่า สัมโมทกุมาร.
ในเวลาที่ท่านยังเล็ก เท้าเดินไม่ได้ด้วยโรคลม (อัมพาต) เขาเที่ยว
ไปเหมือนคนง่อย ตลอดเวลาเล็กน้อย. ด้วยเหตุนั้นเขาจึงมีนามใหม่ว่า ปักขะ.
ภายหลังในเวลาที่หายโรค คนทั้งหลายก็ยังเรียกชื่อเขาอย่างนั้นเหมือนกัน.
เขาเห็นปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในสมาคมแห่งพระญาติ ได้ศรัทธา
บรรพชาแล้ว กระทำกิจเบื้องต้นเสร็จแล้ว เรียนกรรมฐานอยู่ในป่า.
ครั้นวันหนึ่ง ท่านเดินทางเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต นั่งอยู่ที่โคนไม้
แห่งหนึ่งในระหว่างทาง. ก็ในสมัยนั้น เหยี่ยวตัวหนึ่ง คาบชิ้นเนื้อบินไปทาง
อากาศ, เหยี่ยวเป็นอันมากบินตามเหยี่ยวตัวนั้น รุมแย่งจนเนื้อตกลงมา.
เหยี่ยวตัวหนึ่ง คาบเอาชิ้นเนื้อที่ตกบินไป. เหยี่ยวตัวอื่นชิงเอาชิ้นเนื้อนั้น
คาบต่อไป พระเถระเห็นดังนั้น ก็คิดว่า ชิ้นเนื้อนี้ฉันใด ขึ้นชื่อว่า กาม
ทั้งหลายก็ฉันนั้น ทั่วไปแก่คนหมู่มาก มีทุกข์มาก คับแค้นมาก ดังนี้ แล้ว
พิจารณาเห็นโทษในกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการออกบวช เริ่มตั้งวิปัสสนา